วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557



บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย บ้านสีดำ สุดสะอาด
ตอน  ลูกโป่งร้องเพลง



อุปกรณ์ในการทดลอง>>>  ลูกโป่ง

วิธีการทดลอง
-         แจกลูกโป่งให้กับเด็กๆและสนทนาเกี่ยวกับคุณสมบัติของลูกโป่งโดยใช้คำถามว่าลูกโป่งมีลักษณะอย่างไร (วงกลม นุ่มๆ ยืดเพราะลูกโป่งเป็นยาง)
-         ถ้าต้องการให้ลูกโป่งใหญ่ขึ้นๆจะต้องทำอย่างไร (เป่า)
-         หลังจากนั้นก็ให้เด็กๆได้เป่าลูกโป่ง
-         และถามเด็กว่าเราจะทำให้ลูกโป่งเกิดเสียงดนตรีได้อย่างไร (ดีด)
-         พอเป่าลูกโป่งเสร็จก็ใช้คำถามว่ามีอะไรอยู่ภายในลูกโป่งเด็กก็จะตอบว่า มีลม
-         และการที่จะทำให้ลูกโป่งมีเสียงโดยการดึงที่ปากลูกโป่งจะทำให้ลูกโป่งเกิดเสียงหลังจากนั้นก็ให้เด็กลองทำ
-         และก็ได้สอนอีก 1 เทคนิคให้กับเด็กๆโดยให้เด็กลองทำคือการที่เอาเหรียญเข้าไปไว้ตรงปากลูกโป่งเวลาปล่อยลูกโป่งจะไม่เกิดเสียงโดยจะมีแค่ลมผ่านออกมาแต่พอบีบลูกโป่งจะทำให้เกิดเสียงและให้เด็กลองทำ

สรุปจากการทดลอง
การเกิดเสียงเนื่องจากอากาศไหลผ่านช่องแคบๆจากปากลูกโป่งจะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนที่ปากลูกโป่งทั้งด้านล่างและด้านบนเมื่อดึงปากลูกโป่งให้ตึงช่องในปากลูกโป่งจะแคบลงอากาศที่ไหลผ่านจะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนเร็วขึ้นทำให้เกิดเสียงสูงแต่ถ้าปล่อยให้ปากลูกโป่งหย่อนลงช่องในปากลูกโป่งจะกว้างขึ้นจะทำให้เกิดเสียงต่ำ







สรุปงานวิจัยเรื่อง  การจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับ เด็กปฐมวัย

ชื่อผู้วิจัย             นางสาวอภิญญา มนูญศิลป์

วัตถุประสงค์(objective)  เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ด้านทักษะการสังเกตและทักษะการจำแนกประเภท ระหว่างเด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ กับเด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้

สมมุติฐาน(assumption) เด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านทักษะการสังเกต และทักษะการจำแนกประเภทสูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้

แนวทางการปฏิบัติ(regulation)    การวิจัยเชิงทดลอง

กลุ่มตัวอย่าง(sample)     ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังเรียนอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2541 โรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังเรียนอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2541 โรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ซึ่งในการเลือกกลุ่มตัวอย่างมีขั้นตอนดังนี้
1. ทำการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับฉลากมา 1 ห้องเรียน จากจำนวน 2 ห้องเรียน เพื่อกำหนดเป็นห้องเรียนของกลุ่มตัวอย่าง
2. นำนักเรียนจากห้องเรียนที่สุ่มได้ในข้อ 1 มาทำการจับฉลาก แบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 15 คน
3. จับฉลากอีกครั้งเพื่อกำหนดเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ดังนี้ กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้ง แบบมีกิจกรรมการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้
กลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้ง แบบไม่มีกิจกรรมการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ แต่ให้เด็กได้เล่นเครื่องเล่นสนามประเภทต่างๆ และเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระ

ตัวแปร(variable)
ตัวแปรอิสระ คือ ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้ง ซึ่งมี 2 แบบ คือ แบบที่มีและไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้
ตัวแปรตาม คือ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านทักษะการสังเกต และทักษะการจำแนกประเภท

เครื่องมือ(tool)   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย
1. แผนการจัดกิจกรรมการเล่นน้ำ เล่นทราย และเล่นมุมช่างไม้ จำนวน 18 แบบ
2. แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีลักษณะเป็นแบบปรนัย 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ โดยแบ่งออกเป็น 2 ฉบับคือ
2.1 แบบทดสอบวัดทักษะการสังเกต จำนวน 15 ข้อ
2.2 แบบทดสอบวัดทักษะการจำแนกประเภท จวน 15 ข้อ

ข้อสรุป(summary)        
1. เด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. เด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้มีทักษะการสังเกตสูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. เด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้มีทักษะการจำแนกประเภทสูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ข้อเสนอแนะ(suggestion)           


ข้อเสนอแนะเพื่อการนำไปใช้  จากผลการวิจัยที่พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ ดังนั้น ครูผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยควรจะมีการจัดกิจกรรมให้เด็กได้เล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ในช่วงเวลากิจกรรมกลางแจ้ง และยังสามารถจัดให้สอดคล้องกับหน่วยการจัดประสบการณ์ได้นอกจากนี้ควรจัดวัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือช่างไม้ที่เป็นของจริงให้มีความหลากหลาย เพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านการคิดและช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงให้กับเด็ก

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16


บันทึกอนุทิน
วิชา  การจักประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยรหัสวิชา EAED 3207
Science Experiencces Management Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน พฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม  พ.ศ 2557
เวลาเรียน  08:30 - 12:20  น.


ความรู้ที่ได้รับ (Knowle)
วิจัยเรื่อง  การส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัย
กิจกรรม  ไข่หมุน
1.ไข่ต้มสุก
2.ไข่ดิบ
ขั้นนำ (Intorduction)
-          ครูแนะนำอุปกรณ์ให้เด็กๆสังเกต
ขั้นสอน(Step intruction)
-          ให้เด็กๆ นำไข่ต้มสุก มาทดลองหมุน แล้วสังเกตการณ์หมุน
-          ให้เด็กๆนำไข่ดิบ มาทดลองหมุนแล้วสังเกตการณ์หมุน
-          ให้เด็กๆ ทดลองหมุน ทั้งไข่ต้มสุกและไข่ดิบแล้วสังเกตการณ์หมุน
-          เด็กๆบอกความแตกต่างการหมุนของไข่ทั้งสอง
ขั้นสรุป (Conclusion)
-          ครูและเด็กร่วมกันสรุปกิจกรรม


กิจกรรมในวันนี้อาจารย์ให้ทำแผ่นผับประชาสัมพันธ์ผู้ปกครอง

การทำแผ่นพับ >>> พับกระดาษให้เป็นสามส่วน
ส่วนที่1  หน้าปก >>> สัญลักษณ์โรงเรียน คำขวัญโรงเรียน ชื่อหน่วยที่ต้องการสอน รูปภาพเกี่ยวกับหน่วย ชื่อนักเรียน ชื่ออาจารย์ผู้สอน
ส่วนที่2 >>> ข่าวประชาสัมพันธ์ วัตถุประสงค์
ส่วนที่ 3 >>> สาระที่ควรรู้ ประชาสัมพันธ์ผู้ปกครอง
ส่วนที่ 4 >>> นิทาน เพลง คำคลองจอง
ส่วนที่ 5 >>> เกมเกี่ยวกับหน่วยที่สอน เกมภาพเงา ปริศนาคำทาย เกมต่อคำ เกมจับคู่ ฯลฯ
ส่วนที่ 6 >>> สมาชิกที่ทำ

ดังรูปที่เราได้ทำหน่วยปลา



  
เทคนิควิธีการสอน (Teaching Methods)
- การสอนให้นักศึกษาที่คิดจากเรื่องที่ฟัง
- การสอนให้เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง
- การใช้คำถามเพื่อให้เกิดกระบวนการคิด

การนำไปประยุกต์ใช้  (Applied)
การนำเอาการวิจัยมาปรับใช้ในการเรียนการสอนและการนำการทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์ผู้ปกครองทำให้รู้แนวทางหลายๆอย่างว่าเราจะมีแนวทางในการทำอย่างไรให้ถูกต้องและเหมาะสมและทำให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเรียนของเด็กๆและยังทราบถึงผลการเรียนของเด็กเป็นระยะจากการที่ติดตามดูและยังนำมาประยุกต์ใช้กับหลายๆเรื่องได้เช่นกัน

การประเมินหลังเรียน (Assessment)
ตนเอง (Assessment Self): วันนี้เข้เรียนสายเพราะติดธุระแต่ว่าก็แต่งการเรียบร้อยและตั้งใจเรียนมาก ตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่งได้ทันเวลาและเข้าใจในหลักการทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์ผู้ปกครองมากขึ้น
 เพื่อน(Assessment Friend) : เพื่อนทุกคนแต่งกายเรียบร้อยมีความตั้งใจเรียนละสามัคคีกันในการทำงานกลุ่มแผ่นพับประชาสัมพันธ์อย่างเต็มที่มีการระดมความคิดและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นอย่างดี
 อาจารย์(Assessment Teachers) : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาแต่งกายเหมาะสมครูให้คำแนะนำในการนำเสนอของเพื่อนและแนะนำการทำแผ่นพับเป็นอย่างดีและบอกแนวทางการเขียนให้ถูกต้องทำให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้น





วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทินครั้งที่ 15


บันทึกอนุทิน
วิชา  การจักประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยรหัสวิชา EAED 3207
Science Experiencces Management Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน พฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ 2557
เวลาเรียน  08:30 - 12:20  น.

ความรู้ที่ได้รับ (Knowle)

การนำเสนองานวิจัย (Research Report)

1. งานวิจัยเรื่อง การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- มีกิจกรรม 20 ชุด หน่วยการเรียนรู้ 5 หน่วย
ตัวแปรต้น >>> ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ตัวแปรตาม>>> ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทักษะทางวิทยาศาสตร์>>>    การสังเกต   การจำแนก  การวัด  มิติสัมพันธ์
   หน่วย สัตว์เลี้ยงแสนดี
อุปกรณ์ >>>แผ่นภาพอาหารของสัตว์
    การจัดกิจกรรม>>> ครูนำภาพมาให้เด็กดูแล้วถามเด็กว่า สัตว์ไม่ได้กินอาหารจะเป็นอย่างไร

2. งานวิจัยเรื่อง ผลการจัดประสบการณ์เน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ >>>   การสังเกต   การประมาณ   การเปลี่ยนแปลง
หน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้
1.กิจกรรมแว่นขยายเห็นชัดเจน
2.กิจกรรมแสงเป็นอย่างไร
3.กิจกรรมแสงในธรรมชาติ

3. งานวิจัยเรื่อง การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
การคิดเชิงเหตุผล มีความจำเป็นต่อการดำรงชิวิตของมนุษย์และเป็นทักษะพื้นฐาน
-  เปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลองโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
ทักษะวิทยาศาสตร์ 3 อย่างคือ  การจำแนกประเภท  การจัดประเภท  ด้านอนุกรม
-  หน่วยสนุกน้ำ
-  หน่วยอากาศแสนสนุก
-  หน่วยพืชน่ารู้
-  หน่วยพลังงานแสนกล
-  หน่วยเรียนรู้ธรรมชาติ
-  หน่วยฉันคือใคร

4. งานวิจัยเรื่อง ผลของกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้านการจำแนก
กิจกรรม  พืชต้องการแสงแดด
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ >>> การสังเกต
                                           การจำแนกประเภท
                                          การแบ่งปริมาตรและการวัด
                                          การสื่อความหมาย
                                          การหามิติสัมพันธ์
                                          การลงความเห็น

การนำเสนอโทรทัศน์ครู

5.   เรื่อง เสียงมาจากไหน
6.   เรื่อง สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
7.   เรื่อง เรียนวิทยาศาสตร์สนุก
8.  
เรื่อง หน่วยไฟ
10.
เรื่อง  ขวดปั๊มและลิปเทียน
11.  
บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง สีของกะหล่ำปลี่
12.  
บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง พลังจิตคิดไม่ซื่อ
13.  
นมสีจากน้ำยาล้างจานสำหรับเด็กปฐมวัย
14.  
บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง  ทะเลฟองสีรุ้ง
15.  
สนุกคิดวิทย์ทดลอง
16.  
บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง ทอนาโดมหาภัย
17.  
บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง  ความลับของใบบัว
18.  
การทดลองความแข็งของวัตถุ

เทคนิควิธีการสอน (Teaching Methods)
- การสอนให้นำเสนอหน้าชั้นเรียน
- การค้นคว้าความรู้ด้วยตนเอง
- การใช้คำถามเพื่อให้เกิดกระบวนการคิด
- การขยายความหมายจากคำหรือประโยคที่เพื่อนนำเสนอเพื่อให้เข้าใจง่าย
- การสอนให้ปรับการนำเสนอวิจัยของเพื่อนมาปรับใช้ในการเรียนการสอน

การนำไปประยุกต์ใช้  (Applied)
การนำเอาการวิจัยมาปรับใช้ในการเรียนการสอนในหน่วยต่างๆทำให้ได้แนวทางในการสอนที่หลากหลายจากการทดลองการใช้กิจกรรมต่างๆและยังจะนำโทรทัศน์ครูที่เพื่อนนำเสนอมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมในการเรียนเพราะการเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญจะได้ฝึกให้เขารู้จักการสังเกตสิ่งต่างๆรอบตัวจึงหากิจกรรมที่เหมาะสมมาให้กับเด็กเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดี

การประเมินหลังเรียน (Assessment)
ตนเอง (Assessment Self): ตั้งใจเรียนตังใจฟังเพื่อนนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู แต่งกายเรียบร้อย มีการจดบันทึกการนำเสนอของเพื่อน
เพื่อน(Assessment Friend) : เพื่อนทุกคนแต่งกายเรียบร้อยตั้งใจเรียนมีการจดความรู้ที่เพื่อนนำเสนอกันทุกคน ไม่คุยกันเสียงดัง

อาจารย์(Assessment Teachers) : ครูให้คำแนะนำในการนำเสนอของเพื่อนเป็นอย่างดีทำให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้น ให้เทคนิคการนำเสนอโทรทัศน์ครูได้เป็นอย่างดีให้คำแนะนำและบอกคำสำคัญในชื่อเรื่องงานวิจัย เพื่อที่จะได้ค้นหาได้ง่ายขึ้น