วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557



สรุปบทความวิทยาศาสตร์

เรื่อง  สอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ (Natural Phenomena)
ผู้เขียน: อาจารย์ นิติธร ปิลวาสน์ ศึกษานิเทศก์ระดับ: ก่อนอนุบาล อนุบาลหมวด: เกี่ยวกับอนุบาล
ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ (Natural phenomena) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มนุษย์ไม่ได้เป็นผู้สร้างขึ้น แต่มีผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์โดยตรง เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า รุ้งกินน้ำ กลางวัน กลางคืน ภาวะโลกร้อน รวมไปถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติบางอย่างที่นานๆครั้งจะปรากฏให้เห็น เช่น สุริยุปราคา จันทรุปราคา ฝนดาวตก การเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ ปรากฏการณ์ธรรมชาติเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กควรเรียนรู้ในสาระธรรมชาติรอบตัว ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 เพื่อฝึกทักษะการคิดแบบวิทยาศาสตร์โดยผ่านกิจกรรมการทดลอง การปฏิบัติจริงจากสถานการณ์จริง หรือสถานการณ์ที่สร้างขึ้นทั้งภายในห้องเรียน และขณะอยู่กับพ่อแม่ที่บ้าน

การสอนเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติมีความสำคัญอย่างไร?

ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ (Natural phenomena) มีผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน เช่น การเกิดภาวะโลกร้อน วิกฤติการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2554 ซึ่งสภาวการณ์ดังกล่าวมีสาเหตุมาจากการกระทำของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมและทำให้เกิดภาวะนั้นๆ เช่น มนุษย์ทำลายธรรมชาติ ตัดไม้ทำลายป่า แหล่งน้ำ บุกรุกผืนป่า ทำให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล และเมื่อมีปริมาณฝนมากส่งผลให้เกิดภาวะน้ำท่วม เนื่องจากขาดต้นไม้ที่จะดูดซับหรือกักเก็บน้ำ อีกทั้งการเกิดภาวะโลกร้อนในปัจจุบันที่ยังคงทวีความรุนแรงมากขึ้น ลักษณะดังกล่าวนี้เกิดจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและยานยนต์เครื่องจักรกลต่างๆที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ได้ใช้เป็นเครื่องทุ่นแรงและอำนวยความสะดวก เช่น รถยนต์ รถบรรทุก รถไถนา เครื่องจักรกลที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเครื่องจักรกลต่างๆเหล่านี้ต้องใช้พลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เรื่องราวอันเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นนี้มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบันที่มีความรุนแรงยิ่งขึ้น ไม่เฉพาะแต่บุคคลทั่วไป แต่ยังกระทบต่อเด็กและเยาวชนของชาติที่เป็นทรัพยากรสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป ดังนั้นการปลูกฝังหรือเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ให้กับเด็กในช่วงปฐมวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ที่จะทำให้เด็กได้ตระหนักถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในทางลบที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์เป็นเบื้องต้น การที่เด็กได้เรียนรู้สาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ย่อมทำให้เด็กมีลักษณะนิสัยที่รู้จักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และสามารถดำรงชีวิตแบบพึ่งพาซึ่งกันและกันได้ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลในอนาคต ซึ่งเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวเป็นสาระที่เด็กควรเรียนรู้เกี่ยว กับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่แวดล้อมเด็กตามธรรมชาติ เช่น ฤดูกาล กลางวัน กลางคืน เป็นต้น สาระที่ควรเพื่อเตรียมความพร้อมทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย เป็นการส่งเสริมให้เด็กสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เป็นความคิดรวบยอดทางกายภาพ เด็กจะได้ใช้ทักษะการสังเกต การตั้งคำถาม และการหาคำตอบ ช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในลำดับขั้นสูงต่อไป ดังที่ Robert Craig ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไว้ 5 ประการ ที่เรียกว่า “5 Craig’s Basic Concepts” ว่าทุกสิ่งในโลกนี้จะมีลักษณะสำคัญร่วม 5 ประการ คือ
•           ความเปลี่ยนแปลง (Change) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงควรให้เด็กเรียนถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ
•           ความหลากหลาย (Variety) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน จึงควรให้เด็กเรียนรู้ความเหมือนและความแตกต่างของสิ่งต่างๆ
•           การปรับตัว (Adjustment) ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ครูจึงควรสอนให้เด็กได้สังเกตลักษณะของสิ่งนี้ เช่น จิ้งจกจะเปลี่ยนสีตามผนังที่เกาะ เป็นต้น
•           การพึ่งพาอาศัยกัน (Mutuality) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น นกเอี้ยงกับควาย ดังนั้น ครูจึงต้องให้เด็กเห็นธรรมชาติของสิ่งนี้
•           ความสมดุล (Equilibrium) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องต่อสู้เพื่อรักษาชีวิต และปรับตัวเพื่อให้ได้สมดุล และมีการผสานกลมกลืนกันเช่น ปลาอยู่ในน้ำ นกบินได้ ปลาใหญ่ย่อมกินปลาเล็ก สัตว์แข็งแรงย่อมกินสัตว์ที่อ่อนแอ สัตว์ที่อ่อนแอต้องมีอาวุธพิเศษบางอย่างไว้ป้องกันตัว เป็นต้น เด็กควรมีความเข้าใจธรรมชาติของสิ่งนี้ เพื่อให้ตนเองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติสามารถรักษาสมดุลไว้ได้

การสอนเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติมีประโยชน์ต่อเด็กปฐมวัยอย่างไร?

ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเป็นสาระที่ควรรู้สำหรับเด็กปฐมวัย จัดอยู่ในสาระทางด้านวิทยาศาสตร์ที่มีความเหมาะสมในการนำมาจัดให้เด็กได้เรียนรู้ เพื่อให้เด็กได้ประโยชน์ ดังนี้
•           การเรียนรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติช่วยฝึกฝนทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก เช่น การสังเกต การเปรียบเทียบ
•           ทำให้เด็กได้พัฒนาและสร้างความคิดรวบยอดในสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ เป็นคนที่มีความสามารถในการคิดแบบวิทยาศาสตร์ ไม่เชื่อสิ่งใดง่ายๆ ทุกอย่างที่ต้องการรู้จะเกิดจากการลงมือกระทำและพิสูจน์ให้เห็นในเชิงประจักษ์ โดยเฉพาะการคิดแบบวิทยาศาสตร์ที่เริ่มต้นจาก
       การศึกษาปัญหา                   การตั้งสมมติฐาน
       การเก็บรวบรวมข้อมูล         การวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป
       และการนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
•           ทำให้เด็กมีเหตุผลในการกระทำสิ่งต่างๆ และสามารถใช้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาทั้งในส่วนตนและส่วนรวมได้

ครูสอนเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติให้ลูกที่โรงเรียนอย่างไร?

การจัดประสบการณ์เพื่อให้เด็กรู้จักปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในระดับปฐมวัยนั้น ครูจะจัดกิจกรรมง่ายๆ ไม่มีความซับ ซ้อน และให้เด็กได้เห็น สังเกต และลงมือปฏิบัติจริง จนสามารถสรุปองค์ความรู้ในเรื่องนั้นๆได้ด้วยตนเอง โดยครูจัดให้เด็กได้ทดลองทางวิทยาศาสตร์ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ อาจให้เด็กได้เรียนรู้จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง หรืออาจจัดอุปกรณ์ทดลองไว้ในมุมวิทยาศาสตร์ในกิจกรรมเสรี

พ่อแม่ ผู้ปกครองจะสอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติได้อย่างไร?

Johann Heinrich Pestalozzi เป็นนักการศึกษาชาวอิตาเลี่ยน มีแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัยโดยเน้นการให้ความ สำคัญกับพ่อแม่ในการสอนให้ลูกเรียนรู้ได้ขณะอยู่ที่บ้าน และการเตรียมความพร้อมทางด้านพัฒนาการเริ่มจากบ้านก่อนเข้าโรงเรียน การเรียนรู้จะเน้นให้เด็กสามารถแก้ปัญหาและเผชิญกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของสังคม เช่นเดียวกับการสอนลูกให้เรียนรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่พ่อแม่สามารถสอนลูกได้ที่บ้านจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง โดยการสนทนา พูดคุย หรือตั้งคำถามจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เช่น เมื่อเกิดฝนตก เมื่อเห็นรุ้งกินน้ำ เมื่อเกิดพายุหรือลมพัดทำให้ต้นไม้โค่นล้ม ภาวะโลกร้อน การสอนลูกให้รู้จักปรากฏการณ์ทางธรรมชาตินั้น พ่อแม่ควรมีขั้นตอนการสอนที่สามารถสรุปได้ดังนี้ คือ
•           การสร้างสถานการณ์การเรียนรู้ให้เกิดขึ้น หรือการนำสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงมาใช้เป็นประเด็นในการสอน เช่น การสอนลูกให้เรียนรู้การเกิดฝนตกจากกิจกรรมประกอบอาหารในครัว ในขณะทำกับข้าวเด็กจะสังเกตเห็นไอน้ำที่ระเหยจากกระทะลอยไปในอากาศ
•           การใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กคิดหาคำตอบ พ่อแม่สามารถใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กคิดให้หลากหลาย ทำให้เด็กได้พัฒนาทั้งทางด้านกระบวนการคิด และความสามารถในเชิงการคิดสร้างสรรค์ได้ เช่น แม่อาจจะใช้คำถามว่า ไอน้ำเกิดขึ้นได้อย่างไร ไอน้ำลอยไปที่ไหน เพื่อให้เด็กสามารถเชื่อมโยงการเรียนรู้ที่ครูสอนจากโรงเรียนไปสู่การเรียนรู้ขณะอยู่ที่บ้าน
•           การให้เวลาเด็กคิดหรือค้นหาคำตอบจากแหล่งต่างๆ
•           การให้เด็กสรุปสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองก่อนที่จะอธิบายให้ลูกเข้าใจ เทียบเคียงกับการเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ พ่อแม่อาจจะอธิบายกฎต่างๆเกี่ยวกับการเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติให้ลูกเข้าใจ
•           เน้นให้เด็กเรียนรู้จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน เช่น การฝึกให้เด็กรู้จัดคัดแยกขยะ และรู้วิธีการทำลายขยะเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน

เกร็ดความรู้เพื่อครู

ครูมีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัดประสบการณ์ให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ นอกจากการสอนจากหน่วยการเรียนรู้เพื่อให้เด็กเข้าใจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติแล้ว การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมเด็กให้เข้าใจได้ยิ่งขึ้นจากการจัดมุมประสบการณ์ เช่น การจัดมุมวิทยาศาสตร์ให้เด็กเข้าไปเรียนรู้และทดลอง เช่น การนำอุปกรณ์การทดลองเรื่อง กลางวันกลางคืน โดยใช้ไฟฉาย ลูกบอล วัสดุทึบแสง เป็นต้น ซึ่งสถานการณ์เหล่านี้เป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ได้ดีอีกวิธีการหนึ่งด้วย











บันทึกอนุทินครั้งที่ 6



บันทึกอนุทิน
วิชา  การจักประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยรหัสวิชา EAED 3207
Science Experiencces Management Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน พฤหัสบดีที่ 25  กันยายน พ.ศ 2557
เวลาเรียน  08:30 - 12:20  น.

ความรู้ที่ได้รับ (Knowle)

            วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมก่อนเรียนโดยมีกระดาษมาแจกให้กับนักศึกษาและได้ให้ทำกังหันลม โดยมีขั้นตอนการทำดังนี้

ชื่อกิจกรรม  กังหันกระดาษ (Turbine paper )
อุปกรณ์   1. กระดาษ (Rectangle  paper)
                2. คลิปหนีบกระดาษ (paper clip)
ขันตอนการทำ     1. ตัดกระดาษเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็กๆ
                            2. พับครึ่งกระดาษ
                            3. ตัดกระดาษจากปลายตรงกึ่งกลางเข้ามาจนถึงครึ่ง
                            4. พับชายกระดาษฝั่งตรงข้ามแล้วใช้คลิปหนีไว้
                            5. ตกแต่งให้สวยงาม




สิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรม
-               การสังเกต ( observation )
-               การเกิดแรงโน้มถ่วง ( The gravity )
-               แรงต้านทาน( resistance )
-               การหมุน( rotation )
-               การทดลอง ( trials )

และกิจกรรมต่อไปคือให้เพื่อนๆออกมานำเสนอบทความ และหนูก็สรุปความรู้ที่ได้จากบทความ ดังนี้………….





อาจารย์ก็ให้นักศึกษาส่งการทำ mind  mapping และมีการพูดถึงแต่ละเรื่องที่นักศึกษาทำพร้อมให้ข้อเสนอแนะในการจัดหัวข้อการทำอย่างละเอียดและกลุ่มหนูก็ได้ หน่วยปลา

ผลงานเดิม




ผลงานใหม่ (แก้ไขเรียบร้อย)






เทคนิควิธีการสอน (Teaching Methods)
1.      เทคนิคการใช้คำถามปลายเปิด
2.      การใช้คำถามแบบให้นักศึกษาได้วิเคราะห์
3.      การทำสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์มาประกอบการเรียนการสอน

การนำไปประยุกต์ใช้  (Applied)
        การเรียนในวันนี้ สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์กับเด็กโดยการให้เด็กทำสิ่งประดิษฐ์ที่ง่ายๆ เด็กสามารถทำได้เองให้เหมาะสมกับวัยและตามขั้นพัฒนาการของเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ เด็กมีความสุขในการเรียนรู้เด็กเกิดความสนุกสนาน เพื่อเด็กจะได้เรียนรู้กับเพื่อนได้อย่างมีความสุข

การประเมินหลังเรียน (Assessment)
ตนเอง (Assessment Self): เข้าเรียนตรงเวลาแต่งกายถูกระเบียบมีความสนใจในการเรียนในกิจรรมที่อาจารย์ให้ ตอบโต้กับอาจารย์เมื่อให้ตอบคำถาม
เพื่อน(Assessment Friend) : เพื่อนทุกคนมีความตั้งใจเรียน มีการแสดงความคิดเห็นในการเรียนได้ดีมากทำให้การเรียนสนุกสนานและมีความรู้มากขึ้น
อาจารย์ (Assessment Teachers) : ครูใช้คำถามกระตุ้นนักศึกษาอยู่ตลอดเวลา มีเทคนิคการสอนที่หลากหลายและน่าสนใจมีการนำสิ่งประดิษฐ์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์มาเล่นกับเด็กทำให้มีความสนุกสนานในการเรียนมากยิ่งขึ้น











วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทินครั้งที่ 5       
    

บันทึกอนุทิน
วิชา  การจักประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยรหัสวิชา EAED 3207
Science Experiencces Management Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน พฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ 2557
เวลาเรียน  08:30 - 12:20  น.

ความรู้ที่ได้รับ (Knowle)

การเริ่มการเรียนการสอนในวันนี้อาจารย์มีสิ่งๆหนึ่งมาให้นักศึกษาได้ดูได้สัมผัสได้ส่องดูทีละคนแล้วอาจารย์ก็ถามเกี่ยวกับวัตถุชิ้นนั้นว่ามันคืออะไรบางคนก็ตอบว่ากล้องส่องบางคนก็คนก็ตอบว่ามันมีความมืดมีแสงสว่าง มีลูกปิงปองอยู่ข้างใน การเคลื่อนไหวของวัตถุแล้วอาจารย์ก็ได้อธิบายของสิ่งนี้คือ เป็นของเล่นเด็กที่รุ่นพี่ประดิษฐ์ขึ้นจากแกนกระดาษที่ไม่ใช้แล้วนำมาทำเป็นสื่อวิทยาศาสตร์ให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องของแสง แสงกระทบกับวัตถุทำให้เรามองเห็นวัตถุนั้นหรือมองเห็นสิ่งต่างๆ
            ต่อมาอาจารย์ก็มีกระดาษ A 4 มาให้นักศึกษา โดยแบ่งเป็น 4 ส่วน และอาจารย์ก็ให้ประดิษฐ์ชิ้นงานชิ้นหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กัน อาจารย์ยกตัวอย่างให้ดูคือการวาดรูป จาน กับผลไม้อาจารย์ก็ให้นักศึกษาทำเองตามความคิดโดยที่ไม่บอกว่าเราจะทำอะไรกันหนูได้วาดภาพดอกไม้กับผีเสื้อ ผลงานออกมาเป็นแบบนี้ค่ะ






จากการทำกิจกรรมข้างต้นพอจะสรุปได้ดังนี้
1.      เทคนิคการวางแผน
2.      การมีประสบการณ์
3.      ขั้นตอนไม่ซับซ้อนเด็กได้ลงมือกระทำ
4.      การที่เด็กลงมือกระทำกับสิ่งของคือวิธีการหนึ่งซึ่งผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
5.      สื่อวิทยาศาสตร์ทำได้ง่ายเด็กเกิดการเรียนรู้



            ลำดับต่อมาอาจารย์ก็ให้นักศึกษาออกมาสรุปบทความวันนี้หนูพอจะสรุปบทความที่เพื่อนนำเสนอไดดังนี้….






จากการที่ได้ไปศึกษาเรื่องความลับของแสงพอสรุปได้ ดังนี้




 Benefits (ประโยชน์ที่ได้รับ)

1.      ได้มีเทคนิคการสอนที่หลากหลายและการที่ครูกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดเกิดการเรียนรู้ที่ดี
2.      จากบทความได้รับรู้ถึงว่าการที่จะจัดวิทยาศาสตร์นั้นจะต้องจัดที่เด็กสนใจเด็กถึงจะเรียนรู้ได้ดีและให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
3.      ได้รับรู้เกี่ยวกับเรื่องของแสงเพิ่มมากขึ้นจากการชม วีดีโอ

Applied (การนำไปประยุกต์ใช้)

          สามารถนำไปสอนเด็กในการเรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และไปพัฒนาการสอน ต้องไม่สอนเนื้อหามากจนเกินไป ต้องให้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเน้นสิ่งที่เด็กสนใจอยากจะเรียนรู้มากที่สุด



การประเมินหลังเรียน
  • ตนเอง : มีความสนใจในการเรียนในกิจรรมที่อาจารย์ให้ทำ ทำงานที่ได้รับมอบหมายด้วยความตั้งใจ
  • เพื่อน :  มีการแสดงความคิดเห็นในการเรียนทำให้มีแนวทางการเรียนมากขึ้นทุกคนตั้งใจเรียน
  • อาจารย์ : มีการสอนที่หลากหลายแนะนำเทคนิคต่างๆจากเรียนให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่างๆและสนใจตอบคำถามของนักศึกษา








วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4


วิชา  การจักประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยรหัสวิชา EAED 3207
Science Experiencces Management Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน พฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557
เวลาเรียน  08:30 - 12:20  น.


ความรู้ที่ได้รับในการเรียนการสอน(Knowle)

            วันนี้อาจารย์ให้เพื่อนมาสรุปบทความที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กก็มีบทความอยู่ประมาณ 4บทความด้วยกัน คือ 1.หลักการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 2. แนวทางสอนคิดเติม วิทย์ให้เด็กอนุบาล 3. ผพวช.ผนึกพันธมิตรจัดงาน วันนักวิทยาศาสตร์น้อยหวังปลูปความรักวิทยาศาสตร์ให้เด็กปฐมวัย 4. การสอนลูกเรื่องการลดภาวะโลกร้อน  ดังนี้






                             และพอจะสรุปเกี่ยวกับทักษะวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้ดังนี้





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Applied)
  • จากการฟังบทความก็สามารถนำเอาความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กไปประยุกต์ใช้ว่าเด็กควรจะเรียนรู้เองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเน้นเนื้อหาให้มากเกินไป
  • ต้องจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำให้ได้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์การประสาทสัมผัสทั้ง 5ในการสังเกต
  • นำมาจัดกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็ก
เทคนิควิธีการสอน
-          การตอบคำถามโดยการวิเคราะห์
-          การใช้คำถามที่หลากหลายโดยการถามถามปลายเปิดให้เด็กได้คิด
-          การสรุปความรู้ที่ได้เรียนเพื่อการทดสอบความจำหรือความเข้าใจ


การประเมินหลังเรียน
  • ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังอาจารย์สอน
  • เพื่อน :  เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนตั้งใจตอบคำถามที่อาจารย์ถามอย่างเต็มที่และไม่ส่งเสียงดังเวลาอาจารย์สอน
  • อาจารย์ :มีการสอนที่กระตุ้นให้นักศึกษาตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาทำให้เด็กได้คิดตามเวลาถามจะใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กได้คิดวิเคราะห์และตอบคำถามซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากค่ะ