วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทินครั้งที่ 14


บันทึกอนุทิน
วิชา  การจักประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยรหัสวิชา EAED 3207
Science Experiencces Management Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน พฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ 2557
เวลาเรียน  08:30 - 12:20  น.


ความรู้ที่ได้รับ (Knowle)

วันนี้เริ่มเรียนโดยการนำเสนอวิจัยในวิจัยแต่ละเรื่องที่เพื่อนนำเสนอนั้นเป็นสิ่งที่ดีสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนได้เนื่องจากบางวิจัยก็มีการนำแผนการสอนมาเป็นเครื่องมือในการวิจัยเป็นดูกันเลยว่ามีวิจัยเรื่องใดบ้าง

วิจัยเรื่องที่ 1 เรื่องการพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ผู้วิจัย>> ณัฐดา  สาครเจริญ
วัตถุประสงค์>>เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนหลังการจัดกิจกรรมและเพื่อศึกษาระดับการพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์
 ทักษะทางวิทยาศาสตร์ >>  การสังเกต การจำแนก การลงความเห็น การสื่อความหมาย
การหามิติสัมพันธ์
เครื่องมือที่ใช้ >> แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยจะมีศิลปะถ่ายโอน ศิลปะปรับภาพ ศิลปะค้นหา ศิลปะเปลี่ยนแบบ ศิลปะบูรณาการ

วิจัยเรื่องที่ 2 เรื่องผลของการบันทึกประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย>> พีรภัทร
วัตถุประสงค์>>เพื่อศึกษาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ >>  การหามิติสัมพันธ์ การมองเห็น/เข้าใจความสัมพันธ์ของวัตถุ
เครื่องมือที่ใช้ >> แผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ประกอบการบันทึกและแบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์

วิจัยเรื่องที่ 3 เรื่องผลของการจัดประสบการณ์ที่ได้รับจากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน
ผู้วิจัย>> เสาวภาคย์
วัตถุประสงค์>>เพื่อศึกษาความสามารถด้านการจำแนกของเด็กปฐมวัย
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ >>  การจำแนก  จัดกลุ่ม เรียงลำดับ หาความสัมพันธ์ เปรียบเทียบความเหมือนต่าง
เครื่องมือที่ใช้ >> แผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์และแบบทดสอบวัดทักษะการจำแนก

วิจัยเรื่องที่ 4 เรื่องผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย>> อัจฉราภรณ์ เชื้อกลาง
วัตถุประสงค์>>เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อน-หลังการทำกิจกรรม
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ >>  การสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบ การแสดงปริมาณ การสื่อความหมาย การลงความเห็น การหามิติสัมพันธ์
เครื่องมือที่ใช้ >> แผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์และแผนการจัดประสบการณ์เล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน


การจำแนกของเล่นวิทยาศาสตร์

การเกิดจุดศูนย์ถ่วง /จุดศูยน์กลาง 



การเกิดเสียง


การใช้แรงดันลมหรืออากาศ


การจัดในมุมประสบการณ์วิทยาศาสตร์



การใช้พลังงานหรือการเกิดแรง





 การทำกิจกรรม Cooking โดยการทำ วาฟเฟิล




เทคนิควิธีการสอน (Teaching Methods)
-           การใช้คำถามปลายเปิด
-           การเรียนรู้ด้วยตนเอง
-           การจำแนกของเล่นวิทยาศาสตร์
-           การให้ฝึกให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์

การนำไปประยุกต์ใช้  (Applied)
สามารถนำวิจัยที่เพื่อนได้ออกมานำเสนอ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่สอดแทรกทักษะวิทยาศาสตร์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดีและยังสามารถนำของเล่นวิทยาศาสตร์ไปให้เด็กเล่นให้เขารู้จักการสังเกตหรือมีทักษะวิทยาศาสตร์สามารถรับรู้ได้เร็วขึ้นในการเรียนและกิจกรรมการทำวาฟเฟิลยังสามารถนำไปจัดกับเด็กให้เหมาะสมโดยการดูในเรื่องของการทำของอาจารย์สามรถนำไปประยุกต์ใช้กับเด็กได้เป็นอย่างดี       

  การประเมินหลังเรียน (Assessment)
ตนเอง (Assessment Self):  แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการเรียน และสื่อมาส่งตามที่กำหนด และตั้งใจทำวาฟเฟิลที่อาจารย์ให้ทำได้สวยงาม
เพื่อน(Assessment Friend) : เพื่อนทุกคนมีความตั้งใจเรียนในการฟังเพื่อนนำเสนอวิจัยและตังใจช่วยกันจำแนกของเล่น และสุดท้ายเลยเพื่อนๆตั้งใจในการทำวาฟเฟิลกันทุกคนเลย อาจารย์ (Assessment Teachers) : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ในการเรียนอาจารย์จะคอยเสริมความรู้ให้นักศึกษาอยู่ตลอดเวลาให้คิดเป็นระบบในการเรียนให้นักศึกษาเข้าใจและสามรถตอบได้อย่างถูกต้องเพื่อเป็นการฝึกซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากที่ครูทุกคนพึงจะทำหนูชอบการสอนแบบนี้ค่ะ


     




วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



บันทึกอนุทินครั้งที่ 13


บันทึกอนุทิน
วิชา  การจักประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยรหัสวิชา EAED 3207
Science Experiencces Management Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน พฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ 2557
เวลาเรียน  08:30 - 12:20  น.



ความรู้ที่ได้รับ (Knowle)

วันนี้อาจารย์ให้นำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่ใช้กับเด็กปฐมวัยและสรุปงานวิจัยออกมาได้ดังนี้……..

งานวิจัยเรื่องที่ 1 การส่งเริมทักษะการสังเกตโดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา
ผู้วิจัย>> นางสาวจุฬารัตน์ วรรณศรียพงษ์
วัตถุประสงค์>>เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการสังเกตสิ่งต่างๆที่ดีขึ้นและสามารถนำทักษะที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม เพราะเด็กปฐมวัยยังขาดทักษะการสังเกต เลยใช้วิจัยในการแก้ปัญหา การสังเกตเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ >>  การสังเกต
เครื่องมือที่ใช้ >> การจับภาพเหมือน เกมจับคู่กับเงา เกมภาพตัดต่อ เกมสังเกต
ผลการวิจัย >> เด็กมีทักษะการสังเกตที่ดีขึ้น

งานวิจัยเรื่องที่ 2 ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหลังการฟังนิทาน
ผู้วิจัย>> ศศิพรรณ  สำแดงเดช
วัตถุประสงค์>>เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กที่ได้รีบการจัดกิจกรรมเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเด็กก่อนทำและหลังทำกิจกรรมต้องการส่งเสริมการเล่านิทาน เป็นความสำคัญในการส่งเสริมการฟังนิทาน สื่อสารด้วยการใช้การสนทนา เครื่องมือที่ใช้ก็จะมี แผน แบบทดสอบ เป็นการส่งเสริมทุกด้านของเด็ก
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ >>  การสังเกต การจำแนก การสื่อสาร
เครื่องมือที่ใช้ >> แผนการจัดกิจกรรมการเล่านิทานและกิจกรรมการทดลอง
ผลการวิจัย >> เด็กมีทักษะการสังเกตการณ์จำแนกและการสื่อสารที่ดีขึ้นมาก

งานวิจัยเรื่องที่ 3 การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีทักษะต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย>> ชยุดา  วยุพงษ์
วัตถุประสงค์ >> เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมเพื่อศึกษาผลของทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กที่ได้รับการเรียนรู้แบบนักวิจัย รูปแบบจะยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย1.ให้อิสระแก่เด็ก 2.พาเด็กไปศึกษาให้เด็กเจอประสบการณ์ตรง
3.ประเมินผลงานของเด็ก
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ >>  การสังเกต การจำแนก การพยากรณ์ การวัด การคำนวณ การหามิติสัมพันธ์ การกระทำและการสื่อความหมาย  และการลงความเห็น
เครื่องมือที่ใช้ >> แผนการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยและแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผลการวิจัย >> เด็กที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีทักษะทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้น

 งานวิจัยเรื่องที่ 4 ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย>> ยุพารัตน์  ชูสาย  ดร.สุจินดา  ขจรรุ่งศิลป์  ชูศรี  วงศ์รัตนะ
วัตถุประสงค์>>เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติและหลังการทดลอง
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ >>  การสังเกต การจำแนก การหามิติสัมพันธ์ การลงความเห็น
เครื่องมือที่ใช้ >> แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติและแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ผลการวิจัย >> ก่อนการจัดกิจกรรมเด็กมีความรู้ในระดับบปานกลางหลังการจัดกิจกรรมเด็กได้รับความรู้มากขึ้น

งานวิจัยเรื่องที่ 5 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบมุ่งเน้นกระบวนการ
ผู้วิจัย>> ชนกพร  ธีระกุล
วัตถุประสงค์>>เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการและแบบปกติ
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ >>  การสังเกต การจำแนก การหามิติสัมพันธ์ การลงความเห็น การแสดงปริมาณ
เครื่องมือที่ใช้ >> แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการผู้วิจัยสร้างขึ้น 40 แผน
ผลการวิจัย >> เน้นกระบวนการเปิดโอกาสให้เด็กได้ปฏิบัติทุกขั้นตอนเองโดยเด็กจะได้ลงมือทำด้วยตนเองโดยให้เด็กปฏิบัติเองด้วยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5

วิจัยเรื่องที่  6 การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัย>> เสกสรร  มาตรวัดแสง
วัตถุประสงค์>>เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับก่อนและหลังการจัดกิจกรรม
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ >>  การจำแนก การบอกรายละเอียด ความเหมือน-ต่าง
เครื่องมือที่ใช้ >> แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
 ผลการวิจัย >>เด็กมีการคิดวิจารณญาณทั้งภาพรวมและรายด้านสูงกว่าเด็กปกติ

 วิจัยเรื่องที่ 7 การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ผู้วิจัย>> นางสายทิพย์  ศรีแก้วทุม
วัตถุประสงค์>>เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบปกติ
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ >>  การจำแนก การจัดประเภท
 เครื่องมือที่ใช้ >> แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และแบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล          
 ผลการวิจัย >>เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์กับแบบปกติหลังการจัดกิจกรรมมีความสามารถด้านการคิดอย่างมีเหตุผลแตกต่างกันมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.5


เทคนิควิธีการสอน (Teaching Methods)
1.      เทคนิคโดยการให้นักศึกษาได้สืบค้นวิจัยด้วยตนเองและมีการสรุปวิจัยออกมา
2.      การให้นักศึกษาได้เชื่อมโยงการจัดกิจกรรมและยกตัวอย่างประกอบในกิจกรรมวิจัยในแต่ละเรื่อง
3.      การใช้คำถามปลายเปิด เพื่อกระตุ้นการคิดวิเคราะห์ และความคิดสร้างสรรค์รวมถึงความกล้าแสดงออกและความมั่นใจในการตอบคำถาม

การนำไปประยุกต์ใช้  (Applied)
สามารถนำการวิจัยที่เพื่อนนำเสนอมาประยุกต์ในการเรียนการสอนเด็กปฐมวัยให้หลากหลายนำเอาการทดลองหรือกิจกรรมต่างๆมาจัดกับเด็กเพื่อนให้เด็กมีทักษะทางวิทยาศาสตร์ที่ดีขึ้นจากเดิมและยังสามารถนำเรื่องใกล้ตัวเด็กมาสอนให้เด็กรู้เช่นการฟังนิทานหรืกระทั่งการจัดศิลปะสร้างสรรค์ที่เชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์
       
การประเมินหลังเรียน (Assessment)
ตนเอง (Assessment Self): ตั้งใจเรียนเข้าเรียนตรงเวลาแต่งกายถูกระเบียบและ
 เพื่อน(Assessment Friend) : เพื่อนทุกคนมีความตั้งใจเรียนตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนอวิจัยและเพื่อนคนที่นำเสนอก็สามารถยกตัวอย่างให้เพื่อนๆเข้าใจอย่างเต็มที่และเป็นเรื่องที่สอดแทรกทักษะทางวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี
อาจารย์ (Assessment Teachers) : ครูใช้คำถามกระตุ้นนักศึกษาอยู่ตลอดเวลาและพยายามเชื่อมโยงการนำทักษะวิทยาศาสตร์เข้ามาอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจให้คำแนะนำในการสอนของนักศึกษาเป็นอย่างดี มีเทคนิคการสอนที่หลากหลายและน่าสนใจและหาการเรียนการสอนที่หลากหลายมาสอน










วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



บันทึกอนุทินครั้งที่ 12



บันทึกอนุทิน
วิชา  การจักประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยรหัสวิชา EAED 3207
Science Experiencces Management Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน พฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ 2557
เวลาเรียน  08:30 - 12:20  น.


ความรู้ที่ได้รับ (Knowle)

วันนี้อาจารย์ให้ออกมานำเสนอการสอนเสริมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กโดยจะให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอตามหน่วยของตนเอง

กลุ่มที่ 1 เรื่องชนิดของกล้วย

ในการสอนชนิดของกล้วยนั้นครูให้คำแนะนำว่าให้เอากล้วยของจริงมาให้เด็กดูอาจจะหาวิธีต่างๆเช่นการขอความร่วมมือกับผู้ปกครองถ้าจะสอนวันไหนก้อให้เด็กนำกล้วยมาด้วยโดยแต่ละคนก็จะเอากล้วยมาหลายๆชนิดที่แตกต่างกันไปและการสอนขั้นนำอาจจะเอาการร้องเพลงมาเป็นการนำเพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนที่ดี
การใช้เกณฑ์ในการจำแนกชนิดของกล้วยดังนี้
-          การเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่าของจำนวนหวีของกล้วยว่าชนิดไหนมีเยอะและมีน้อย เช่น กล้วยไข่ กล้วยหอม กล้วยเล็บมือนาง กล้วยน้ำหว้า กล้วยน้ำหว้า จะจำแนกโดยการนับจำนวนกล้วยคือ กล้วยน้ำหว้า มี 2 ไม่ใช่กล้วยน้ำหว้ามี 3


กลุ่มที่ 2 เรื่องลักษณะของไก่

การสอนเรื่องลักษณะต้องยกออกมาให้เห็นชัดเจนคือส่วนประกอบของไก่มีอะไรบ้าง ไก่มีลักษณะอย่างไรเหมือนกันกับเป็ดไหมมีอันไหนที่แตกต่างกันโดยการใช้คำถามปลายเปิดให้เด็กได้มีโอกาสได้ตอบคำถามหรืออาจจะให้เด็กเปรียบเทียบลักษณะของแต่ละชนิดว่าแตกต่างกันอย่างไรและมีอะไรบ้างที่เหมือนกันการบอกสีของไกลักษณะขนของไก่ เป็นต้น

กลุ่มที่ 3 เรื่องวัฏจักรของกบ

การสอนของเพื่อนโดยการเปิดนิทานวงจรชีวิตของกบให้เด็กดูและถามเด็กว่าเด็กเห็นอะไรบ้างในนิทานและให้เด็กบอกและครูจะคอยเชื่อโยงวิทยาศาสตร์เข้าไปสอดแทรกในการสอนในนิทานก็จะสอนเรื่องของ วงจรชีวิตของกบ การดำรงชีวิตของกบ กบจำศีล ครูและเด็กร่วมกันสรุปเกี่ยวกับวัฏจักรของกบ

กลุ่มที่ 4 ประโยนช์และข้อพึงระวังของปลา

ขั้นนำเริ่มโดยการเล่านิทานและสอนเกี่ยวกับประโยชน์ของปลาและข้อพึงระวังโดยการถามเด็กว่าเด็กๆรู้ไหมว่าปลามีประโยชน์อย่างไรบ้างและมีข้อพึงระวังอะไรบ้าง
ประโยชน์ของปลา  =  นำไปขาย   นำมาประกอบอาหาร  ปลามีสารอาหาร และสามารถนำมา             แปรรูปได้
ข้อควรพึงระวัง = ไม่ทานปลาสุกๆดิบๆ ปลาบางชนิดมีพิษ ระวังก้างปลาติดคอ

กลุ่มที่ 5 ทาโกยากิ จากข้าว

ขั้นแรกครูควรถามเด็กเกี่ยวกับส่วนผสมในการทำ และให้เด็กสังเกตและตอบและครูต้องเตรียมส่วนผสมไว้ให้เรียบร้อยโดยกาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆและเอาตัวที่ยังไม่หั่นมาให้เด็กดูด้วยว่าตอนที่ยังไม่หั่นมันมีลักษณะแบบนี้พอครูหั่นออกมาจะเป็นแบบนี้เพื่อให้เด็กได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงและครูควรถามเด็กว่าเด็กๆรู้ไหมว่าวันนี้เราจะมาทำอะไรกันหลังจากนั้นครูก็สาธิตการทำและให้เด็กได้ลงมือทำโดยครูจะคอยอยู่ข้างๆเพื่อดูเด็กให้ใช้ความระมัดระวังในการทำ

กลุ่มที่ 6 ชนิดของต้นไม้

ขั้นนำครูนำโดยการพูดคำคล้องจองเกี่ยวกับต้นไม้แล้วให้เด็กบอกว่าในคำคล้องจองมีต้นไม้ชนิดไหนบ้างการสอนควรจะนำภาพชนิดของต้นไม้ว่าให้เด็กดูอย่างชัดเจนว่าเป็นต้นไม้ชนิดอะไรและเอาต้นไม้มาให้เด็กเปรียบเทียบกันโดยการเอาต้นไม้ยืนต้นกับไม้พุ่มมาให้เด็กสังเกตว่าต่างกันอย่างไรและให้เด็กแยกแยะชนิดของต้นไม้

กลุ่มที่ 7 ลักษณะของนม

ขั้นนำโดยการร้องเพลง ดื่มนม
กลุ่มนี้ทำการทลลอง โดยการนำนมเทลงบนจานแล้วนำสีผสมอาหารมาใส่ในนมหลังจากนั้นก็เอาน้ำยาล้างจานมาหยดลงทำให้สีกระจายออกอย่างรวดเร็วและครูให้คำแนะนำโดยการให้เด็กสังเกตสีของนม กลิ่นของนม โดยอาจจะนำภาชนะมาใส่นมที่แตกต่างกันไปให้เด็กสังเกตโดยจะเห็นว่ารูปร่างของนมจะเปลี่ยนไปตามลักษณะของภาชนะที่ใส่เพราะนมเป็นของเหลว

กลุ่มที่ 8 อนุรักษ์น้ำ

ขั้นนำ  การร้องเพลงอย่างทิ้ง  : อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง       แม่น้ำจะสกปรก
                                                  ถ้าเราเห็นใครทิ้ง               ต้องเตือน ต้องเตือน ต้องเตือน
การเล่นนิทานหนูนิดโดยการใช้คำถามปลายเปิดให้เด็กตอบคำถามต่างๆว่าเราจะช่วยกันอนุรักษ์น้ำให้สะอาดได้อย่างไรเพื่อไม่ให้น้ำเน่าเสียอาจจะให้เด็กทำปลายห้ามทิ้งขยะลงแม่น้ำ

กลุ่มที่ 9 การปลูกมะพร้าว

การสอนโดยการเล่นนิทานเกี่ยวกับการปลูกมะพร้าวแล้วถามเด็กว่าการปลูกมะพร้าวมีขั้นตอนอย่างไรบ้างในนิทานแล้วให้เด็กนำภาพมาเรียงต่อกันตั้งแต่เริ่มปลูกจนเติบโตว่าเด็กสามารถจำไดไหมเพื่อทดสอบความจำ


กลุ่มที่ 10 การทำผลไม้ผัดเนย

ขั้นนำโดยการร้องเพลง เพื่อให้เด็กตั้งใจฟังครูถามเด็กว่าเด็กรู้จักผลไม้อะไรบ้างและให้เด็กสังเกตส่วนประกอบที่วางบนตรงว่ามีอะไรบ้างและถามเด็กว่ารู้ไหมว่าวันนี้เราจะมาทำอะไรกันให้เด็กสังเกตจากส่วนประกอบแล้วตอบ
สิ่งที่เกิดขึ้นในการทำ >> เมื่อใสเนยลงในกระทะเมื่อเกิดความร้อนเนยจะละลายตัวและหอมในการทำครูควรจะแบ่งเด็กเป็นกลุ่มในการทำเพราะเด็กจะได้ทำทุกคนคือแบ่งเด็กออกเป็นกลุ่มและให้กลุ่มที่ 1 หั่นผลไม้ กลุ่มที่ 2 แยกส่วยผสม กลุ่มที่ 3 จัดจานเป็นต้น


เทคนิควิธีการสอน (Teaching Methods)
1.      เทคนิคการใช้คำถามปลายเปิดในการสอนครูให้คำแนะนำในแต่ละกลุ่มให้เห็นชัดเจนในการทดลองหรือการสอนของเพื่อน
2.      การให้นักศึกษาได้เชื่อมโยงการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ไปสู่วิทยาศาสตร์
3.      ทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์
4.     การใช้คำถามเพื่อไปกระตุ้นความคิดของเด็กให้เด็กเกิดการเรียนรู้

การนำไปประยุกต์ใช้  (Applied)
        การเรียนในวันนี้ สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในการสอนเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โดยการให้เด็กได้ตอบคำถามได้สังเกตในการจัดกิจกรรมที่หลากหลายและน่าสนใจและสอดแทรกวิทยาศาสตร์เข้าไปอย่างสร้างสรรค์

การประเมินหลังเรียน (Assessment)
ตนเอง (Assessment Self): เข้าเรียนตรงเวลาแต่งกายถูกระเบียบมีความสนใจในการเรียนตั้งใจฟังครูให้คำแนะนำในการสอนในวันต่างๆเป็นอย่างดี
เพื่อน(Assessment Friend) : เพื่อนทุกคนมีความตั้งใจเรียน และนำเสนอการสอนได้ดีและตั้งใจฟังคำแนะนำของอาจารย์และนำไปปรับใช้ได้เป็นอย่างดี
 อาจารย์ (Assessment Teachers) : ครูใช้คำถามกระตุ้นนักศึกษาอยู่ตลอดเวลาให้คำแนะนำในการสอนของนักศึกษาเป็นอย่างดี มีเทคนิคการสอนที่หลากหลายและน่าสนใจและหาการเรียนการสอนที่หลากหลายมาสอน