สรุปงานวิจัยเรื่อง การจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับ เด็กปฐมวัย
ชื่อผู้วิจัย นางสาวอภิญญา มนูญศิลป์
วัตถุประสงค์(objective) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ด้านทักษะการสังเกตและทักษะการจำแนกประเภท ระหว่างเด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ กับเด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้
สมมุติฐาน(assumption) เด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านทักษะการสังเกต และทักษะการจำแนกประเภทสูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้
แนวทางการปฏิบัติ(regulation) การวิจัยเชิงทดลอง
กลุ่มตัวอย่าง(sample) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กนักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังเรียนอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2541 โรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดสำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังเรียนอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2541 โรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ซึ่งในการเลือกกลุ่มตัวอย่างมีขั้นตอนดังนี้
1. ทำการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับฉลากมา 1 ห้องเรียน จากจำนวน 2 ห้องเรียน เพื่อกำหนดเป็นห้องเรียนของกลุ่มตัวอย่าง
2. นำนักเรียนจากห้องเรียนที่สุ่มได้ในข้อ 1 มาทำการจับฉลาก แบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 15 คน
3. จับฉลากอีกครั้งเพื่อกำหนดเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ดังนี้ กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้ง แบบมีกิจกรรมการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้
กลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้ง แบบไม่มีกิจกรรมการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ แต่ให้เด็กได้เล่นเครื่องเล่นสนามประเภทต่างๆ และเคลื่อนไหวร่างกายอย่างอิสระ
ตัวแปร(variable)
ตัวแปรอิสระ คือ ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้ง ซึ่งมี 2 แบบ คือ แบบที่มีและไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้
ตัวแปรตาม คือ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านทักษะการสังเกต และทักษะการจำแนกประเภท
เครื่องมือ(tool) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย
1. แผนการจัดกิจกรรมการเล่นน้ำ เล่นทราย และเล่นมุมช่างไม้ จำนวน 18 แบบ
2. แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีลักษณะเป็นแบบปรนัย 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ โดยแบ่งออกเป็น 2 ฉบับคือ
2.1 แบบทดสอบวัดทักษะการสังเกต จำนวน 15 ข้อ
2.2 แบบทดสอบวัดทักษะการจำแนกประเภท จวน 15 ข้อ
ข้อสรุป(summary)
1. เด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. เด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้มีทักษะการสังเกตสูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. เด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้มีทักษะการจำแนกประเภทสูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ข้อเสนอแนะ(suggestion)
ข้อเสนอแนะเพื่อการนำไปใช้ จากผลการวิจัยที่พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบมีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมกลางแจ้งแบบไม่มีการเล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ ดังนั้น ครูผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยควรจะมีการจัดกิจกรรมให้เด็กได้เล่นน้ำ เล่นทราย เล่นมุมช่างไม้ในช่วงเวลากิจกรรมกลางแจ้ง และยังสามารถจัดให้สอดคล้องกับหน่วยการจัดประสบการณ์ได้นอกจากนี้ควรจัดวัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือช่างไม้ที่เป็นของจริงให้มีความหลากหลาย เพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านการคิดและช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงให้กับเด็ก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น