สรุปความรู้ที่ได้รับเรื่อง อากาศ(Weather)
Science Experiences Management for Early Childhood / Thursday. 08:30 - 12:20 group 101
วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557
บันทึกอนุทินครั้งที่
10
บันทึกอนุทิน
วิชา การจักประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยรหัสวิชา
EAED
3207
Science
Experiencces Management Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน พฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ 2557
เวลาเรียน 08:30 - 12:20
น.
ความรู้ที่ได้รับ
(Knowle)
วันนี้เป็นการเรียนชดเชยวันพฤหัสที่ 23 ตุลาคมเนื่องจากเป็นวันหยุด “วันปิยมหาราช”ซึ่งวันนี้อาจารย์ก็ได้อธิบายเกี่ยวกับการเขียนแผนสำหรับกลุ่มของหนูได้หน่วยเรื่องปลาซึ่งไดแบ่งแผนการสอนดังนี้……
วันที่ 1 สอนเรื่องชนิดของปลา
วันที่ 2 สอนเรื่องลักษณะของปลา
วันที่ 3 สอนเรื่องอาหารของปลา
วันที่ 4 สอนเรื่องประโยชน์และข้อจำกัด
วันที่ 5 สอนเรื่องการประกอบอาหาร
ซึ่งหนูได้การสอนวันที่
2 ลักษณะของปลา......
หน่วยเรื่อง ปลา (Fish)
ตัวอย่างการเขียนแผนวันที่ 2 เรื่อง ลักษณะของ ปลา
( Fish)
ขั้นนำ
ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับลักษณะต่างๆของปลาและให้เด็กเคลื่อนไหวเหมือนปลาที่เด็กๆเคยเห็น
ขั้นสอน
1.ครูร้องเพลงจับมือกันเป็นวงกลมและให้เด็กจับมือกันเป็นวงกลม
2.ครูให้เด็กวาดภาพปลาที่เด็กๆเคยเห็นโดยไม่ซ้ำกับเพื่อน
3.หลังจากที่เด็กวาดภาพเสร็จครูก็ให้เด็กออกมาเล่าภาพปลาที่เด็กวาดให้เพื่อนฟัง
ขั้นสรุป
ครูและเด็กร่วมกันสรุปลักษณะต่างๆของปลา
เทคนิคการสอน (Teaching
Methods)
- ให้นักศึกษาได้ทักษะการคิดวิเคราะห์เนื้อหา
- มีการแนะนำการเขียนแผนการสอนเป็นอย่างดี
- สอนให้นักศึกษาคิดอย่างเป็นระบบ
- การถามคำถามปลายเปิด
- สอนการบูรณาการแผนไปสู่วิชาอื่นๆ
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้(Applied)
การเอาแผนไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสมและมีการนำเทคนิคที่อาจารย์ให้มาปรับปรุงการเขียนแผนของตนเองให้มีประสิทธิภาพและสามารถสอนเด็กได้จริงและยังนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนวิชาอื่นได้อีกด้วยและส่งเสริมความรู้สอดแทรกกิจกรรมการสอนของเด็กให้เด็กมีความรู้ในทักษะวิทยาศาสตร์อย่างเหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก
การประเมินหลังเรียน
(Assessment)
ตนเอง (Assessment
Self): ตั้งใจฟังคำแนะนำในการเขียนแผนการสอนของอาจารย์เป็นอย่างดี
เพื่อน(Assessment
Friend) : เพื่อนไม่คุยกันเสียงดังมาเรียนตามที่อาจารย์นัดชดเชยทุกคนมีความตั้งใจเรียนและแต่งกายเหมาะสมมีความตั้งใจรับความรู้จากอาจารย์เป็นอย่างมาก
อาจารย์ (Assessment Teachers) : อาจารย์ให้คำแนะนำในการเขียนแผนการสอนเด็กอย่างดีมีการสอนอย่างเป็นระบบทำให้นักศึกษาสามารถเข้าใจในการเรียนมากขึ้นสอนให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดวิเคราะห์ในการเรียนมากขึ้น
วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557
บันทึกอนุทินครั้งที่
9
บันทึกอนุทิน
วิชา
การจักประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยรหัสวิชา EAED
3207
Science
Experiencces Management Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน พฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ 2557
เวลาเรียน 08:30 - 12:20
น.
ความรู้ที่ได้รับ
(Knowle)
วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์เพื่อนๆทุกคนนำเสนอสื่อของตนเองเป็นอย่างดีและสามารถนำไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริงสื่อวิทยาศาสตร์ของหนูคือ
“ลูกข่างมหาสนุก”
ลูกข่างมหาสนุก
วัสดุที่ใช้
1. แกนกระดาษทิชชู
2. ไม้ตะเกียบ
3. กระดาษสี
4. สีไม้
5. กาว
6. ดินน้ำมัน
7. ฝาขวดน้ำที่ไม่ใช้แล้ว
วิธีการทำ
1. นำแกนกระดาษทิชชูมาตัดครึ่ง
2. นำดินน้ำมันมายัดข้างในแกนกระดาษทิชชู
3. นำไม้ตะเกียบมาแทงตรงกลางให้อยู่ในระดับกึ่งกลางของแกนกระดาษทิชชู
4. นำฝาขวดน้ำมาเจาะรูแล้วไม้ตะเกียบมาเสียบเข้าไปอีกรอบเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้ลูกข่างหล่นลงมา
5. ตกแต่งให้สวยงาม
วิธีการเล่น ใช้หมุนตามในทิศทางที่ต้องการ
เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
การหมุนของลูกข่างหรือแรงบิด
เป็นปริมาณที่บอกถึงความสามารถแรงภายนอกที่ใช้ในการหมุนวัตถุแรงเสียดทานที่พื้นจะทำให้การหมุนของลูกข่างลดความเร็วลงและล้มลงในที่สุดและมีจุดศูนย์กลางทำให้ลูกข่างเกิดความทรงตัวในการหมุน
เทคนิคการสอน (Teaching
Methods)
- ให้นักศึกษาได้ทำสื่อการสอนด้วยตนเอง
- มีการแนะนำในการทำสื่อเพิ่มเติม
- สอนให้นักศึกษาได้คิดอย่างเป็นระบบและมีเหตุผลเชื่อมโยง
- การถามคำถามปลายเปิด
- การอภิปรายและวิเคราะห์ร่วมกันกับนักศึกษา
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้(Applied)
การนำเอาความรู้ที่ได้เกี่ยวกับการทำสื่อวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการสอนทักษะวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กที่หลากหลายจากการที่เพื่อนนำเสนอมาให้เด็กสนุกกับการเรียนรู้และเข้าใจกับวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้นและน่าสนใจเพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์และคิดว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่ง่าย
การประเมินหลังเรียน
(Assessment)
ตนเอง (Assessment
Self): ทำสื่อมีความน่าสนใจ
มีการออกมานำเสนอหน้าชั้นมีการพูดหรืออธิบายกับสื่อที่ทำได้เป็นอย่างดี
เพื่อน(Assessment
Friend) : เพื่อนทุกคนมีความตั้งใจเรียนและมีความตั้งใจฟังเพื่อนคนที่นำเสนอ
ไม่คุยกันเสียงดังมีการสนทนาโต้ตอบกับอาจารย์เป็นอย่างดี
อาจารย์ (Assessment
Teachers) : อาจารย์ให้คำแนะนำในการทำสื่อเป็นอย่างดี
การบอกแนวทางในการสอนเด็กการทำสื่อที่ง่ายต่อการเรียนรู้และเด็กสามารถทำได้และชี้แจงให้นักศึกษาได้เข้าใจเกี่ยวกับหลักการของวิทยาศาสตร์มากขึ้น
วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557
บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
บันทึกอนุทิน
วิชา การจักประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยรหัสวิชา EAED
3207
Science Experiencces Management Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน พฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ 2557
เวลาเรียน 08:30
- 12:20 น.
“ วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาคของมหาวิทยาลัยขอให้ทุกคนที่สอบกลางภาคสอบได้เกรด
A ทุกคนนะ สู้ๆ ^-^ ”
วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557
บันทึกอนุทินครั้งที่ 7
บันทึกอนุทิน
วิชา การจักประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยรหัสวิชา EAED
3207
Science Experiencces Management Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน พฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ 2557
เวลาเรียน 08:30
- 12:20 น.
ความรู้ที่ได้รับ (Knowle)
วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำแกนกระดาษทิชชูมา
และอาจารย์ก็แจกกระดาษให้นักศึกษาแบ่งกันแล้วหลังจากนั้นก็พาทำสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ที่ทำมาจากแกนกระดาษทิชชูอยากรู้ว่าคืออะไรไปดูกันเลย……..
ชื่อกิจกรรม :
สิงโตร่อนเชือก
อุปกรณ์: 1.แกนกระดาษทิชชู
2.กระดาษ (Paper)
3.ไหมพรม(Yarn)
4.กาว(Glue)
5.กรรไกร(Scissors)
6. ตุ๊ดตู่ (ที่เจาะกระดาษ)
ขั้นตอนการทำ
1.นำแกนกระดาษทิชชูมาตัดครึ่ง
2.เจาะรูตรงกึ่งกลางแกนกระดาษทิชชูทั้งสองข้าง
3.นำกระดาษที่เตรียมไว้มาตัดเป็นวงกลมตกแต่งให้สวยงาม
4.นำกระดาษที่ตกแต่งเสร็จมาติดที่แกนกระดาษทิชชู
5.นำเชือกไหมพรมมาร้อยตรงรูทั้งสองข้าง
มัดให้เรียบร้อย
วิธีการเล่น(Play): นำมาคล้องคอและใช้มือดึกเชือกขึ้นลง
กิจกรรมต่อไปคือ
การออกมานำเสนอบทความและหนูก็สรุปบทความได้ดังนี้…
เทคนิคการสอน (Teaching Methods)
-
การใช้คำถามปลายเปิด
-
การเรียนรู้ด้วยตนเอง
-
การประดิษฐ์สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์
-
การใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อการเรียนรู้
-
การอภิปราย
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ (Applied)
การนำเอาความรู้ที่ได้เกี่ยวกับการสื่อวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัยในการจักการเรียนการสอนทำสื่อที่หลากหลายและน่าสนใจเพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์และมีจินตนาการทำให้เด็กสนุกกับการเรียนและคิดว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่สนุก
การประเมินหลังเรียน (Assessment)
ตนเอง (Assessment
Self): ตั้งใจเรียนเข้าเรียนตรงเวลาแต่งกายถูกระเบียบและสนใจในกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำและตั้งใจฟังเพื่อนออกมานำเสนอบทความ
เพื่อน(Assessment
Friend) : เพื่อนทุกคนมีความตั้งใจเรียนมีการสนทนาโต้ตอบกับอาจารย์เป็นอย่างดี
ไม่คุยกันเสียงดังและร่วมกันทำกิจกรรมในห้องเป็นอย่างดี
มีการแสดงความคิดเห็นในการเรียนได้ดีมาก
อาจารย์ (Assessment
Teachers) : อาจารย์มีการสอนที่หลายหลายมีการทำสื่อการเรียนที่น่าสนใจสามารถนำไปใช้ได้จริงในอนาคต
ครูใช้คำถามกระตุ้นนักศึกษาอยู่ตลอดเวลา มีลีลาในการสอนดีมากทำให้นักศึกษาสนุกกับการเรียนรู้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)