วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทินครั้งที่ 7           



บันทึกอนุทิน
วิชา  การจักประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยรหัสวิชา EAED 3207
Science Experiencces Management Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน พฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ 2557
เวลาเรียน  08:30 - 12:20  น.


ความรู้ที่ได้รับ (Knowle)

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำแกนกระดาษทิชชูมา และอาจารย์ก็แจกกระดาษให้นักศึกษาแบ่งกันแล้วหลังจากนั้นก็พาทำสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ที่ทำมาจากแกนกระดาษทิชชูอยากรู้ว่าคืออะไรไปดูกันเลย……..


ชื่อกิจกรรม สิงโตร่อนเชือก

อุปกรณ์: 1.แกนกระดาษทิชชู 
               2.กระดาษ (Paper)
               3.ไหมพรม(Yarn)
               4.กาว(Glue)
               5.กรรไกร(Scissors)
               6. ตุ๊ดตู่ (ที่เจาะกระดาษ)



ขั้นตอนการทำ
1.นำแกนกระดาษทิชชูมาตัดครึ่ง
2.เจาะรูตรงกึ่งกลางแกนกระดาษทิชชูทั้งสองข้าง
3.นำกระดาษที่เตรียมไว้มาตัดเป็นวงกลมตกแต่งให้สวยงาม
4.นำกระดาษที่ตกแต่งเสร็จมาติดที่แกนกระดาษทิชชู
5.นำเชือกไหมพรมมาร้อยตรงรูทั้งสองข้าง มัดให้เรียบร้อย




วิธีการเล่น(Play): นำมาคล้องคอและใช้มือดึกเชือกขึ้นลง


กิจกรรมต่อไปคือ การออกมานำเสนอบทความและหนูก็สรุปบทความได้ดังนี้






เทคนิคการสอน (Teaching Methods)
-          การใช้คำถามปลายเปิด
-          การเรียนรู้ด้วยตนเอง
-          การประดิษฐ์สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์
-          การใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อการเรียนรู้
-          การอภิปราย


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้(Applied)

            การนำเอาความรู้ที่ได้เกี่ยวกับการสื่อวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้กับเด็กปฐมวัยในการจักการเรียนการสอนทำสื่อที่หลากหลายและน่าสนใจเพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์และมีจินตนาการทำให้เด็กสนุกกับการเรียนและคิดว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่สนุก




การประเมินหลังเรียน (Assessment)
ตนเอง (Assessment Self): ตั้งใจเรียนเข้าเรียนตรงเวลาแต่งกายถูกระเบียบและสนใจในกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำและตั้งใจฟังเพื่อนออกมานำเสนอบทความ
เพื่อน(Assessment Friend) : เพื่อนทุกคนมีความตั้งใจเรียนมีการสนทนาโต้ตอบกับอาจารย์เป็นอย่างดี ไม่คุยกันเสียงดังและร่วมกันทำกิจกรรมในห้องเป็นอย่างดี มีการแสดงความคิดเห็นในการเรียนได้ดีมาก
อาจารย์ (Assessment Teachers) : อาจารย์มีการสอนที่หลายหลายมีการทำสื่อการเรียนที่น่าสนใจสามารถนำไปใช้ได้จริงในอนาคต ครูใช้คำถามกระตุ้นนักศึกษาอยู่ตลอดเวลา มีลีลาในการสอนดีมากทำให้นักศึกษาสนุกกับการเรียนรู้



                                          








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น