วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557



บันทึกอนุทินครั้งที่ 9



บันทึกอนุทิน

วิชา  การจักประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยรหัสวิชา EAED 3207
Science Experiencces Management Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน พฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ 2557
เวลาเรียน  08:30 - 12:20  น.



ความรู้ที่ได้รับ (Knowle)

วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์เพื่อนๆทุกคนนำเสนอสื่อของตนเองเป็นอย่างดีและสามารถนำไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริงสื่อวิทยาศาสตร์ของหนูคือ “ลูกข่างมหาสนุก”



ลูกข่างมหาสนุก




วัสดุที่ใช้
1.         แกนกระดาษทิชชู
2.         ไม้ตะเกียบ
3.         กระดาษสี
4.         สีไม้
5.         กาว
6.         ดินน้ำมัน
7.         ฝาขวดน้ำที่ไม่ใช้แล้ว

วิธีการทำ
1.         นำแกนกระดาษทิชชูมาตัดครึ่ง
2.         นำดินน้ำมันมายัดข้างในแกนกระดาษทิชชู
3.         นำไม้ตะเกียบมาแทงตรงกลางให้อยู่ในระดับกึ่งกลางของแกนกระดาษทิชชู
4.         นำฝาขวดน้ำมาเจาะรูแล้วไม้ตะเกียบมาเสียบเข้าไปอีกรอบเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้ลูกข่างหล่นลงมา
5.         ตกแต่งให้สวยงาม

วิธีการเล่น     ใช้หมุนตามในทิศทางที่ต้องการ

เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
            การหมุนของลูกข่างหรือแรงบิด เป็นปริมาณที่บอกถึงความสามารถแรงภายนอกที่ใช้ในการหมุนวัตถุแรงเสียดทานที่พื้นจะทำให้การหมุนของลูกข่างลดความเร็วลงและล้มลงในที่สุดและมีจุดศูนย์กลางทำให้ลูกข่างเกิดความทรงตัวในการหมุน

เทคนิคการสอน (Teaching Methods)
-          ให้นักศึกษาได้ทำสื่อการสอนด้วยตนเอง
-          มีการแนะนำในการทำสื่อเพิ่มเติม
-          สอนให้นักศึกษาได้คิดอย่างเป็นระบบและมีเหตุผลเชื่อมโยง
-          การถามคำถามปลายเปิด
-          การอภิปรายและวิเคราะห์ร่วมกันกับนักศึกษา


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้(Applied)
     การนำเอาความรู้ที่ได้เกี่ยวกับการทำสื่อวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการสอนทักษะวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กที่หลากหลายจากการที่เพื่อนนำเสนอมาให้เด็กสนุกกับการเรียนรู้และเข้าใจกับวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้นและน่าสนใจเพื่อกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์และคิดว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่ง่าย


การประเมินหลังเรียน (Assessment)
ตนเอง (Assessment Self): ทำสื่อมีความน่าสนใจ มีการออกมานำเสนอหน้าชั้นมีการพูดหรืออธิบายกับสื่อที่ทำได้เป็นอย่างดี
เพื่อน(Assessment Friend) : เพื่อนทุกคนมีความตั้งใจเรียนและมีความตั้งใจฟังเพื่อนคนที่นำเสนอ ไม่คุยกันเสียงดังมีการสนทนาโต้ตอบกับอาจารย์เป็นอย่างดี
อาจารย์ (Assessment Teachers) : อาจารย์ให้คำแนะนำในการทำสื่อเป็นอย่างดี การบอกแนวทางในการสอนเด็กการทำสื่อที่ง่ายต่อการเรียนรู้และเด็กสามารถทำได้และชี้แจงให้นักศึกษาได้เข้าใจเกี่ยวกับหลักการของวิทยาศาสตร์มากขึ้น














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น