วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทินครั้งที่ 14


บันทึกอนุทิน
วิชา  การจักประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยรหัสวิชา EAED 3207
Science Experiencces Management Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน   อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน พฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ 2557
เวลาเรียน  08:30 - 12:20  น.


ความรู้ที่ได้รับ (Knowle)

วันนี้เริ่มเรียนโดยการนำเสนอวิจัยในวิจัยแต่ละเรื่องที่เพื่อนนำเสนอนั้นเป็นสิ่งที่ดีสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนได้เนื่องจากบางวิจัยก็มีการนำแผนการสอนมาเป็นเครื่องมือในการวิจัยเป็นดูกันเลยว่ามีวิจัยเรื่องใดบ้าง

วิจัยเรื่องที่ 1 เรื่องการพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้รูปแบบกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ผู้วิจัย>> ณัฐดา  สาครเจริญ
วัตถุประสงค์>>เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อนหลังการจัดกิจกรรมและเพื่อศึกษาระดับการพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์
 ทักษะทางวิทยาศาสตร์ >>  การสังเกต การจำแนก การลงความเห็น การสื่อความหมาย
การหามิติสัมพันธ์
เครื่องมือที่ใช้ >> แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์โดยจะมีศิลปะถ่ายโอน ศิลปะปรับภาพ ศิลปะค้นหา ศิลปะเปลี่ยนแบบ ศิลปะบูรณาการ

วิจัยเรื่องที่ 2 เรื่องผลของการบันทึกประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย>> พีรภัทร
วัตถุประสงค์>>เพื่อศึกษาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ >>  การหามิติสัมพันธ์ การมองเห็น/เข้าใจความสัมพันธ์ของวัตถุ
เครื่องมือที่ใช้ >> แผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ประกอบการบันทึกและแบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์

วิจัยเรื่องที่ 3 เรื่องผลของการจัดประสบการณ์ที่ได้รับจากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน
ผู้วิจัย>> เสาวภาคย์
วัตถุประสงค์>>เพื่อศึกษาความสามารถด้านการจำแนกของเด็กปฐมวัย
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ >>  การจำแนก  จัดกลุ่ม เรียงลำดับ หาความสัมพันธ์ เปรียบเทียบความเหมือนต่าง
เครื่องมือที่ใช้ >> แผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์และแบบทดสอบวัดทักษะการจำแนก

วิจัยเรื่องที่ 4 เรื่องผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย>> อัจฉราภรณ์ เชื้อกลาง
วัตถุประสงค์>>เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อน-หลังการทำกิจกรรม
ทักษะทางวิทยาศาสตร์ >>  การสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบ การแสดงปริมาณ การสื่อความหมาย การลงความเห็น การหามิติสัมพันธ์
เครื่องมือที่ใช้ >> แผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์และแผนการจัดประสบการณ์เล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน


การจำแนกของเล่นวิทยาศาสตร์

การเกิดจุดศูนย์ถ่วง /จุดศูยน์กลาง 



การเกิดเสียง


การใช้แรงดันลมหรืออากาศ


การจัดในมุมประสบการณ์วิทยาศาสตร์



การใช้พลังงานหรือการเกิดแรง





 การทำกิจกรรม Cooking โดยการทำ วาฟเฟิล




เทคนิควิธีการสอน (Teaching Methods)
-           การใช้คำถามปลายเปิด
-           การเรียนรู้ด้วยตนเอง
-           การจำแนกของเล่นวิทยาศาสตร์
-           การให้ฝึกให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์

การนำไปประยุกต์ใช้  (Applied)
สามารถนำวิจัยที่เพื่อนได้ออกมานำเสนอ ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่สอดแทรกทักษะวิทยาศาสตร์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดีและยังสามารถนำของเล่นวิทยาศาสตร์ไปให้เด็กเล่นให้เขารู้จักการสังเกตหรือมีทักษะวิทยาศาสตร์สามารถรับรู้ได้เร็วขึ้นในการเรียนและกิจกรรมการทำวาฟเฟิลยังสามารถนำไปจัดกับเด็กให้เหมาะสมโดยการดูในเรื่องของการทำของอาจารย์สามรถนำไปประยุกต์ใช้กับเด็กได้เป็นอย่างดี       

  การประเมินหลังเรียน (Assessment)
ตนเอง (Assessment Self):  แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการเรียน และสื่อมาส่งตามที่กำหนด และตั้งใจทำวาฟเฟิลที่อาจารย์ให้ทำได้สวยงาม
เพื่อน(Assessment Friend) : เพื่อนทุกคนมีความตั้งใจเรียนในการฟังเพื่อนนำเสนอวิจัยและตังใจช่วยกันจำแนกของเล่น และสุดท้ายเลยเพื่อนๆตั้งใจในการทำวาฟเฟิลกันทุกคนเลย อาจารย์ (Assessment Teachers) : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ในการเรียนอาจารย์จะคอยเสริมความรู้ให้นักศึกษาอยู่ตลอดเวลาให้คิดเป็นระบบในการเรียนให้นักศึกษาเข้าใจและสามรถตอบได้อย่างถูกต้องเพื่อเป็นการฝึกซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากที่ครูทุกคนพึงจะทำหนูชอบการสอนแบบนี้ค่ะ


     




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น