บันทึกอนุทินครั้งที่ 12
บันทึกอนุทิน
วิชา การจักประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยรหัสวิชา
EAED 3207
Science Experiencces Management Early Childhood
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน
พฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ 2557
เวลาเรียน 08:30 - 12:20 น.
ความรู้ที่ได้รับ (Knowle)
วันนี้อาจารย์ให้ออกมานำเสนอการสอนเสริมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กโดยจะให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอตามหน่วยของตนเอง
กลุ่มที่ 1 เรื่องชนิดของกล้วย
ในการสอนชนิดของกล้วยนั้นครูให้คำแนะนำว่าให้เอากล้วยของจริงมาให้เด็กดูอาจจะหาวิธีต่างๆเช่นการขอความร่วมมือกับผู้ปกครองถ้าจะสอนวันไหนก้อให้เด็กนำกล้วยมาด้วยโดยแต่ละคนก็จะเอากล้วยมาหลายๆชนิดที่แตกต่างกันไปและการสอนขั้นนำอาจจะเอาการร้องเพลงมาเป็นการนำเพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนที่ดี
การใช้เกณฑ์ในการจำแนกชนิดของกล้วยดังนี้
-
การเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่าของจำนวนหวีของกล้วยว่าชนิดไหนมีเยอะและมีน้อย
เช่น กล้วยไข่ กล้วยหอม กล้วยเล็บมือนาง กล้วยน้ำหว้า กล้วยน้ำหว้า
จะจำแนกโดยการนับจำนวนกล้วยคือ กล้วยน้ำหว้า มี 2 ไม่ใช่กล้วยน้ำหว้ามี 3
กลุ่มที่ 2 เรื่องลักษณะของไก่
การสอนเรื่องลักษณะต้องยกออกมาให้เห็นชัดเจนคือส่วนประกอบของไก่มีอะไรบ้าง
ไก่มีลักษณะอย่างไรเหมือนกันกับเป็ดไหมมีอันไหนที่แตกต่างกันโดยการใช้คำถามปลายเปิดให้เด็กได้มีโอกาสได้ตอบคำถามหรืออาจจะให้เด็กเปรียบเทียบลักษณะของแต่ละชนิดว่าแตกต่างกันอย่างไรและมีอะไรบ้างที่เหมือนกันการบอกสีของไกลักษณะขนของไก่
เป็นต้น
กลุ่มที่ 3 เรื่องวัฏจักรของกบ
การสอนของเพื่อนโดยการเปิดนิทานวงจรชีวิตของกบให้เด็กดูและถามเด็กว่าเด็กเห็นอะไรบ้างในนิทานและให้เด็กบอกและครูจะคอยเชื่อโยงวิทยาศาสตร์เข้าไปสอดแทรกในการสอนในนิทานก็จะสอนเรื่องของ
วงจรชีวิตของกบ การดำรงชีวิตของกบ กบจำศีล ครูและเด็กร่วมกันสรุปเกี่ยวกับวัฏจักรของกบ
กลุ่มที่ 4 ประโยนช์และข้อพึงระวังของปลา
ขั้นนำเริ่มโดยการเล่านิทานและสอนเกี่ยวกับประโยชน์ของปลาและข้อพึงระวังโดยการถามเด็กว่าเด็กๆรู้ไหมว่าปลามีประโยชน์อย่างไรบ้างและมีข้อพึงระวังอะไรบ้าง
ประโยชน์ของปลา = นำไปขาย นำมาประกอบอาหาร ปลามีสารอาหาร และสามารถนำมา แปรรูปได้
ข้อควรพึงระวัง = ไม่ทานปลาสุกๆดิบๆ
ปลาบางชนิดมีพิษ ระวังก้างปลาติดคอ
กลุ่มที่ 5 ทาโกยากิ จากข้าว
ขั้นแรกครูควรถามเด็กเกี่ยวกับส่วนผสมในการทำ
และให้เด็กสังเกตและตอบและครูต้องเตรียมส่วนผสมไว้ให้เรียบร้อยโดยกาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆและเอาตัวที่ยังไม่หั่นมาให้เด็กดูด้วยว่าตอนที่ยังไม่หั่นมันมีลักษณะแบบนี้พอครูหั่นออกมาจะเป็นแบบนี้เพื่อให้เด็กได้สังเกตการเปลี่ยนแปลงและครูควรถามเด็กว่าเด็กๆรู้ไหมว่าวันนี้เราจะมาทำอะไรกันหลังจากนั้นครูก็สาธิตการทำและให้เด็กได้ลงมือทำโดยครูจะคอยอยู่ข้างๆเพื่อดูเด็กให้ใช้ความระมัดระวังในการทำ
กลุ่มที่ 6 ชนิดของต้นไม้
ขั้นนำครูนำโดยการพูดคำคล้องจองเกี่ยวกับต้นไม้แล้วให้เด็กบอกว่าในคำคล้องจองมีต้นไม้ชนิดไหนบ้างการสอนควรจะนำภาพชนิดของต้นไม้ว่าให้เด็กดูอย่างชัดเจนว่าเป็นต้นไม้ชนิดอะไรและเอาต้นไม้มาให้เด็กเปรียบเทียบกันโดยการเอาต้นไม้ยืนต้นกับไม้พุ่มมาให้เด็กสังเกตว่าต่างกันอย่างไรและให้เด็กแยกแยะชนิดของต้นไม้
กลุ่มที่ 7 ลักษณะของนม
ขั้นนำโดยการร้องเพลง ดื่มนม
กลุ่มนี้ทำการทลลอง
โดยการนำนมเทลงบนจานแล้วนำสีผสมอาหารมาใส่ในนมหลังจากนั้นก็เอาน้ำยาล้างจานมาหยดลงทำให้สีกระจายออกอย่างรวดเร็วและครูให้คำแนะนำโดยการให้เด็กสังเกตสีของนม
กลิ่นของนม
โดยอาจจะนำภาชนะมาใส่นมที่แตกต่างกันไปให้เด็กสังเกตโดยจะเห็นว่ารูปร่างของนมจะเปลี่ยนไปตามลักษณะของภาชนะที่ใส่เพราะนมเป็นของเหลว
กลุ่มที่ 8 อนุรักษ์น้ำ
ขั้นนำ การร้องเพลงอย่างทิ้ง : อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง
แม่น้ำจะสกปรก
ถ้าเราเห็นใครทิ้ง
ต้องเตือน ต้องเตือน ต้องเตือน
การเล่นนิทานหนูนิดโดยการใช้คำถามปลายเปิดให้เด็กตอบคำถามต่างๆว่าเราจะช่วยกันอนุรักษ์น้ำให้สะอาดได้อย่างไรเพื่อไม่ให้น้ำเน่าเสียอาจจะให้เด็กทำปลายห้ามทิ้งขยะลงแม่น้ำ
กลุ่มที่ 9 การปลูกมะพร้าว
การสอนโดยการเล่นนิทานเกี่ยวกับการปลูกมะพร้าวแล้วถามเด็กว่าการปลูกมะพร้าวมีขั้นตอนอย่างไรบ้างในนิทานแล้วให้เด็กนำภาพมาเรียงต่อกันตั้งแต่เริ่มปลูกจนเติบโตว่าเด็กสามารถจำไดไหมเพื่อทดสอบความจำ
กลุ่มที่ 10 การทำผลไม้ผัดเนย
ขั้นนำโดยการร้องเพลง
เพื่อให้เด็กตั้งใจฟังครูถามเด็กว่าเด็กรู้จักผลไม้อะไรบ้างและให้เด็กสังเกตส่วนประกอบที่วางบนตรงว่ามีอะไรบ้างและถามเด็กว่ารู้ไหมว่าวันนี้เราจะมาทำอะไรกันให้เด็กสังเกตจากส่วนประกอบแล้วตอบ
สิ่งที่เกิดขึ้นในการทำ >> เมื่อใสเนยลงในกระทะเมื่อเกิดความร้อนเนยจะละลายตัวและหอมในการทำครูควรจะแบ่งเด็กเป็นกลุ่มในการทำเพราะเด็กจะได้ทำทุกคนคือแบ่งเด็กออกเป็นกลุ่มและให้กลุ่มที่
1 หั่นผลไม้ กลุ่มที่ 2 แยกส่วยผสม
กลุ่มที่ 3 จัดจานเป็นต้น
เทคนิควิธีการสอน (Teaching Methods)
1.
เทคนิคการใช้คำถามปลายเปิดในการสอนครูให้คำแนะนำในแต่ละกลุ่มให้เห็นชัดเจนในการทดลองหรือการสอนของเพื่อน
2. การให้นักศึกษาได้เชื่อมโยงการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ไปสู่วิทยาศาสตร์
3. ทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์
4.
การใช้คำถามเพื่อไปกระตุ้นความคิดของเด็กให้เด็กเกิดการเรียนรู้
การนำไปประยุกต์ใช้ (Applied)
การเรียนในวันนี้
สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในการสอนเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โดยการให้เด็กได้ตอบคำถามได้สังเกตในการจัดกิจกรรมที่หลากหลายและน่าสนใจและสอดแทรกวิทยาศาสตร์เข้าไปอย่างสร้างสรรค์
การประเมินหลังเรียน (Assessment)
ตนเอง (Assessment
Self): เข้าเรียนตรงเวลาแต่งกายถูกระเบียบมีความสนใจในการเรียนตั้งใจฟังครูให้คำแนะนำในการสอนในวันต่างๆเป็นอย่างดี
เพื่อน(Assessment
Friend) : เพื่อนทุกคนมีความตั้งใจเรียน และนำเสนอการสอนได้ดีและตั้งใจฟังคำแนะนำของอาจารย์และนำไปปรับใช้ได้เป็นอย่างดี
อาจารย์ (Assessment Teachers) : ครูใช้คำถามกระตุ้นนักศึกษาอยู่ตลอดเวลาให้คำแนะนำในการสอนของนักศึกษาเป็นอย่างดี
มีเทคนิคการสอนที่หลากหลายและน่าสนใจและหาการเรียนการสอนที่หลากหลายมาสอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น